DJ
song:
artist:
NEWS
Dec 26, 2014 | ดู 27,405 ครั้ง

รู้หรือไม่!? สัญลักษณ์ใน MRT มีความหมายนะจ๊ะ

เรามาเริ่มทำความรู้จักกับสัญลักษณ์ของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ทั้งสองส่วน คือ ส่วนเหนือ และส่วนใต้กันเลย

สถานีส่วนใต้



1. สถานีหัวลำโพง
สัญลักษณ์ คือ รูปทรงครึ่งวงกลมของอาคารสถานีรถไฟหัวลำโพง โดยมีรูปทรงปกติอยู่เหนือเงาสะท้อนรูปหัวกลับ ใช้สีแดงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นย่านธุรกิจ หรือตลาด



2. สถานีสามย่าน
สัญลักษณ์ คือ รูปทรงลอกแบบจากหลังคาอาคารหอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้สีชมพู ซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย



3. สถานีสีลม
สัญลักษณ์ คือ รูปพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่อยู่ด้านหน้าสวนลุมพินีและยังเป็นจุดที่ตั้งสถานีสีลม โดยใช้สีน้ำเงินเพื่อบ่งบอกถึงจุดเชื่อมต่อระหว่างรถไฟลอยฟ้ากับรถไฟฟ้าใต้ดิน



4. สถานีลุมพินี
สัญลักษณ์ คือ รูปดอกบัว สื่อถึงสวนลุมพินี ซึ่งเป็นที่ตั้งสถานี และตั้งชื่อตามสวนลุมพินีวัน สถานที่ประสูติของพระพุทธเจ้า ในประเทศเนปาล โดยใช้สีเขียวเพื่อบ่งบอกถึงพื้นที่สวนสาธารณะ



5. สถานีคลองเตย
สัญลักษณ์ คือ หลังคาเรือนไทย สื่อถึงตำหนักปลายเนิน ซึ่งเป็นบ้านเรือนไทย 2 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของสถานี โดยใช้สีส้มเพื่อบ่งบอกถึงพื้นที่ในย่านการค้าหนาแน่น



6. สถานีศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
สัญลักษณ์ คือ รูปสามเหลี่ยมของอาคารศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยใช้สีเหลืองซึ่งเป็นสีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์



7. สถานีสุขุมวิท
สัญลักษณ์ คือ รูป กาแล ซึ่งสื่อความหมายถึง “เรือนคำเที่ยง” ซึ่งจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อยู่ในสยามสมาคม ถือเป็นสถาปัตยกรรมแบบกาแลที่ดีที่สุดในกรุงเทพ และใช้สีน้ำเงินเพื่อแสดงถึงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟลอยฟ้า



8. สถานีเพชรบุรี
สัญลักษณ์ คือ รูปคลื่นน้ำ สื่อถึงคลองแสนแสบ โดยใช้สีฟ้าที่หมายถึงแม่น้ำ, น้ำ, คลอง



9. สถานีพระราม 9
สัญลักษณ์ คือ รูปเลข 9 ไทย (๙) เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสี่แยกพระราม 9 จุดตัดถนนพระราม 9 โดยใช้สีแดงเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นย่านธุรกิจ หรือตลาด

สถานีส่วนเหนือ



1. สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)



2. สถานีห้วยขวาง
ใช้สีส้มตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีที่อยู่ในพื้นที่ย่านการค้าหนาแน่น



3. สถานีสุทธิสาร
ใช้สีแดงตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีในย่านธุรกิจหรือตลาด



4. สถานีรัชดาภิเษก
ใช้สีชมพูตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา



5. สถานีลาดพร้าว
ใช้สีฟ้าตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา



6. สถานีพหลโยธิน
ใช้สีเหลืองตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เนื่องจากสถานีตั้งอยู่บริเวณสวนสมเด็จย่า 84 จึงใช้สีที่มีความเกี่ยวข้องกับราชวงศ์



7. สถานีจตุจักร
ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เพื่อแสดงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟลอยฟ้า



8. สถานีกำแพงเพชร
ใช้สีแดงตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา



9. สถานีบางซื่อ
ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา เพื่อแสดงการเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าอื่น ๆ ในอนาคต




ที่มา pantip




.:: ข่าวอื่นๆ



  1. ถ้าตลอดกาลมีจริงขอให้มันเกิดกับรักครั้งนี้ / MINTCHYY x MARR TEAM