DJ
song:
artist:
NEWS
May 03, 2013 | ดู 3,269 ครั้ง

Specific Phobia โรคติดตัวขอคนอยากเป็นซุป'ตาร์

สาระสุขสัปดาห์นี้ขอหยิบเรื่อง "Specific Phobia" โรคติดตัวขอคนอยากเป็นซุป'ตาร์ โดยนายแพทย์อภิชาติ จริยาวิลาศ โรงพยาบาลเวชธานี เผยว่า ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกที่ปัจจุบันเราอาจจะเคยเจอคนที่มีปัญหาเรื่องกลัวอะไรสักอย่างมากๆ ไม่ว่าจะเป็น คน สัตว์ สิ่งของหรือสถานการณ์จำเพาะบางอย่าง ที่เห็นชัดๆ ก็พวกดารานักแสดง เวลาที่ออกตามรายการโทรทัศน์บางคนโดนแกล้งเอาสิ่งที่กลัวมากๆ มาหลอกว่าตนกลัวบางอย่างมากแม้จะรู้ว่าความกลัวนี้ไม่ค่อยสมเหตุสมผลแต่ก็ยังอดที่จะกลัวไม่ได้ เช่น กลัวสุนัข กลัวแมว กลัวเลือด กลัวแมงมุม กลัวปลา กลัวส้ม กลัวกล้วยกลัวความมืด กลัวที่แคบ กลัวน้ำเต้าหู้ และอื่นๆอีกสารพัดสารพัน

หลายคนคงนึกสงสัยว่ามันเป็นไปได้หรือ เพราะหลายอย่างที่เค้ากลัวๆ กันก็ดูไม่มีพิษมีภัย ไม่น่าจะมีอันตรายให้กลัวได้ถึงขนาดนั้น แต่ความจริงแล้วความกลัวเหล่านี้เป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่าโรคกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobia) ซึ่งในทางจิตเวชถือว่าเป็นโรคที่จัดอยู่ในกลุ่มของโรควิตกกังวล ที่เกิดจากการทำงานไม่สมดุลของตัวสมอง ซึ่งพบได้บ่อยในคนทั่วไป

ลักษณะอาการของโรคนี้ คือ
1.มีความกลัวต่อสิ่งนั้นๆอย่างรุนแรง รวมทั้งมีความกลัวที่มากเกินควรหรือไม่มีเหตุผล เมื่อทราบหรือคาดว่าจะต้องเผชิญกับสิ่งหรือสถานการณ์นั้นๆ เช่น ต้องขึ้นเครื่องบิน ต้องเข้าใกล้สัตว์
2. การเผชิญกับสิ่งที่กลัวนั้นก่อให้เกิดความวิตกกังวลขึ้นมาทันที
3. บุคคลนั้นตระหนักดีว่าความกลัวนั้นมีมากเกินควรหรือไม่มีเหตุผลแต่ควบคุมไม่ได้
4. ต้องมีการหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือสิ่งที่ทำให้กลัวนั้นๆ หรือไม่ก็ต้องยอมทนเผชิญกับความวิตกกังวลหรือความทุกข์ใจนั้นอย่างมาก

ประเภทที่ทำให้เกิดความกลัวจำเพาะ ดังนี้
1.กลุ่มประเภทสัตว์ เช่นกลัวงู แมงมุม สุนัข หนู ปลา สัตว์เลื้อยคลานต่างๆ
2. กลุ่มประเภทสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น กลัวฟ้าผ่า พายุ ความสูง หรือน้ำ
3. กลุ่มประเภท เลือดหรือการบาดเจ็บหรือการถูกฉีดยาหรือหัตถการทางการแพทย์ต่างๆที่เข้าไปในร่างกาย
4. กลุ่มประเภทสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น การใช้อุโมงค์ สะพาน ลิฟต์ การขึ้นเครื่องบิน การขับรถ หรือการอยู่ในที่แคบ

ทั้งนี้ อาจมีหลายคนประสบปัญหาในการปรับตัวให้หายจากโรค และอาจจะทำไม่สำเร็จ เพราะขาดความเข้าใจจากคนรอบข้างที่บางครั้งอาจจะเห็นเป็นเพียงเรื่องตลก ดังนั้นการเข้าอกเข้าใจกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ และการให้กำลังใจกัน ก็จะช่วยให้ผ่านปัญหานี้ไปให้.




.:: ข่าวอื่นๆ