วงการบันเทิงไทยสูญสิ้นบุคคลที่มีความรู้ความสามารถไปอีกหนึ่งราย โดยเมื่อวันที่ 23 พ.ค. เวลาราว 16.00 น. ดาราอาวุโส จุ๋ม-อัญชลี ไชยศิริ อดีตดาราดังที่แสดงภาพยนต์มาตั้งแต่สมัยสาวๆ ฝากผลงานละครเรื่องสุดท้ายที่ร่วมแสดงด้วยคือ "มงกุฎดอกส้ม" ทางช่อง 3 และ "ปิ่นรัก" ทางช่อง 7 ได้เสียชีวิตอย่างสงบแล้ว ภายหลังเข้ารับการรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลลาดพร้าว ด้วยโรคเส้นเลือดในสมองแตกเป็นเวลาเกือบ 1 เดือน ทางครอบครัวเคลื่อนย้ายศพไปที่วัดลาดพร้าว ซึ่งจะรอสวดอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 วัน
หลอดเลือดสมองตีบ ฝันร้าย เกิดได้ไม่ทันตั้งตัว ชีวิตคงไม่มีความสุขนักถ้าเกิดในวันที่อายุมากขึ้นต้องมาเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือที่เรียกจนคุ้นหูกันคือ โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต ซึ่งโรคนี้จะมีผลอย่างมากต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วยในทุกๆด้าน ที่อาจถึงขั้นช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ความทรมานจากการป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบนั้น
ด้านนายแพทย์ชนรัฐ เสถียร อายุรแพทย์ระบบประสาท โรงพยาบาลเวชธานี ให้ข้อมูลกับสาระสุขสัปดาห์ว่า หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองตีบอุดตันเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ อาการที่พบบ่อยคือ ร่างกายออ่อนแรง หน้าเบี้ยว, ตาพร่ามัว, พูดลำบาก ฟังไม่เข้าใจ, เวียนหัว, เดินเซ, ลิ้นแข็งกลืนอาหารลำบาก และซึมโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันเป็นมากขึ้นไมเกิน 1-7 วัน ก็จะแสดงออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งหนึ่งหรือพร้อมกันทีเดียว ถ้าผู้ป่วยเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง
ในส่วนการตรวจสมอง และหลอดเลือดจะใช้วิธีเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)Computed Tomography Angiography, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) Magnetic Resonance Imaging และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRA)Magnetic Resonance Angiography เป็นวิธีการตรวจเนื้อสมองที่ให้รายละเอียดแม่นยำกว่า CT Scan
สำหรับแนวทางการรักษา นายแพทย์ชนรัฐ เผยว่า มีอยู่ 3 วิธีที่จะต้องทำควบคู่กันคือ การให้ยาละลายลิ่มเลือด และยา Aspirin โดยผู้ป่วยต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทยอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ควบคู่ไปกับการทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ต้องหมั่นไปเช็คสุขภาพ โดยเฉพาะการตรวจวัดความดัน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หากพบว่ามีความดันโลหิตที่มากกว่า 140/90 mmHg ควรพบแพทย์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร โดยการลดอาหารเค็ม และรับประทานยาลดความดันอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดรับประทานยาลดความดันเอง โดยแพทย์ไม่ได้สั่งงด
ทั้งนี้ เนื่องจากโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นแล้วมักจะเป็นตลอดชีวิต และไม่ค่อยแสดงอาการ รวมทั้งการตรวจร่างกายทางด้านหัวใจว่ามีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจหรือไม่ ที่สำคัญก็คือควรหยุดสูบบุหรี่ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิน ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละครึ่งชั่วโมง ตรวจสุขภาพทุกปีเพื่อตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด และหากมีปัญหานอนกรน มีภาวะหยุดหายใจชั่วคราวระหว่างนอนหลับก็ควรรีบปรึกาแพทย์ ก็เป็นจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้.